Home ผู้บริโภค คุ้มครองผู้บริโภค เตรียมแผนรับเทศกาล ลดราคา(จริงหรือ?)

เตรียมแผนรับเทศกาล ลดราคา(จริงหรือ?)

0

          ลดราคา, ลดแหลก, แจก, แถม, โปรโมชั่น, โอกาสพิเศษ, สิทธิพิเศษ, นาทีทอง, ลุ้นรับโชค, โชคสองชั้น, สะสมแต้ม ,แต้มแลกของ, คะแนนสะสมพิเศษ, บัตรกำนัล,แสตมป์,  ร่วมฉลอง, ตอบแทนลูกค้า, รักสุขภาพ, เงื่อนไขพิเศษ ,ทดลองใช้, ดอกเบี้ยพิเศษ, พิจารณาพิเศษ, ไม่มีเงินดาวน์, เงินดาวน์ต่ำ, แนะนำต่อได้สิทธิพิเศษ, ยิ่งเยอะยิ่งคุ้ม,คุ้มสุดสุด  ฯลฯ

          นี่คือคำ ที่ใช้โฆษณา ให้ความหมายถึงการลดราคา  ทุกช่องทางการสื่อสาร  เช่น  จุดขาย โบวชัวร์ โปสเตอร์ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิ้ล ป้าย เว็บไซต์ facebook และสื่อออนไลน์ หน้าจอมือถือ เป็นต้น

          ถามว่า เราจะ “คุ้ม” “ประหยัด” “ได้ประโยชน์” “สิทธิพิเศษ”  จริงหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ทั้งจริง และไม่จริง ทั้งดีใจ มีความสุข และเสียใจ เสียดาย เสียอารมณ์  เสียสุขภาพ

ประการแรก คือเหตุผลทางการค้า อย่างไร “กำไร” “ชื่อเสียง” “ประโยชน์” ของผู้ประกอบการต้องมาก่อน ไม่ว่าจะระยะสั้น และระยะยาว ดังนั้นกลไกการตลาดเหล่านี้ เป็นการแข่งขันที่มีโอกาสสูงที่ช่วงชิงลูกค้า โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล

ประการที่สอง คือเหตุผลของผู้บริโภค เรื่องนี้ต้องถามใจตนเอง ว่า เราจะจัดระบบการเงิน อย่างไร จะใช้วิธีการหาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไร จะใช้วิธีเลือกอย่างไร จะได้ใช้ประโยชน์จริงหรือไม่ ของดีจริงหรือ และที่สำคัญคือ ถ้าเราไม่ซื้อ เราจะมีเหตุผลอย่างไร ที่ช่วยให้เราใจแข็ง ไม่ให้เราตามใจไปกับกระแสเทศกาลลดราคา มากเกินไป นอกจากนี้เหตุผลของการอยากลอง ก็อาจต้องประเมินก่อนซื้อก่อนลอง

หากเราใช้แนวคิด ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ ฉลาดเลือก เราก็อาจพอจัดการได้ระดับหนึ่ง  แต่อีกด้านหนึ่ง เราอาจต้องปรับความคิดใหม่ว่า  ไม่จำเป็นต้องซื้อ ไม่จำเป็นต้องใช้ ไม่ต้องคิดแค่ว่าคุ้มไม่คุ้ม ไม่ต้องชั่งใจอะไรมากไป ไม่เอาคือไม่เอา  “หยุด” ตนเองไว้บ้าง

ประการที่สาม คือเหตุผลของสินค้า กับ ทางเลือกของผู้บริโภค และการเลือกผู้ประกอบการ  เช่น การเปลี่ยนมุมมองกลุ่มสินค้า เลือกซื้อสินค้าไม่มีสารเคมี เลือกสินค้าไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เลือกสินค้าที่ไม่ปรุงแต่ง เลือกผู้ประกอบการที่ค้าขายซื่อสัตย์ ไม่โฆษณาเกินจริง ไม่หลอกลวง ค้าขายยุติธรรม ราคาสมเหตุสมผล

ประการที่สี่ คือกลุ่มประเภทบริการ หรือเกี่ยวเนื่องต่อถึงการบริการหลังขาย เช่น บริการเครือข่ายโทรศัพท์ต่างๆ ซึ่งมีลูกเล่นให้การออกโปรโมชั่น ซับซ้อน เหลื่อมเวลา หรือความไม่ชัดเจนในการให้บริการ  ขอบข่ายการบริการ หรือการใช้บริการ กรณีเดินทางไปต่างประเทศ

นอกจากนี้ ยังมีบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว  กลุ่มบริการอาหาร,ที่พัก,โรงแรม, ร้านอาหาร ไม่สะอาด ไม่ไปกิน ซื้อของมาแล้วบริการไม่ดี ไม่ซื้อ

ประการที่ห้า ยึดหลักความคิด รู้ทันสื่อ รู้ทันโฆษณา รู้ทันผู้ประกอบการ รู้ทันตลาดและรู้ทันตนเองเสริมหลักการรู้ทันตามหลักธรรมะ  จะช่วยให้เรา มีหลักการ เมื่อเวลา และสถานการณ์ของการตลาดช่วงเทศกาล มากระตุ้นให้ต้องการ กระตุ้นให้เราจับจ่าย มาถึง

          เรื่องการรู้ทันโฆษณา รู้ทันการตลาด สำคัญมาก ไม่เพียงแต่ว่า จริงไม่จริง เท่านั้น หากแต่ต้องระวังการได้รับฟังบ่อยๆ  ได้รับข้อมูลตรงถึงคุณหน้าจอ ได้รับการบอกต่อ มีสื่อทุกอย่างกระตุ้น เหล่านี้ท้าทายกิเลสของเราอย่างยิ่ง  กลุ่มสินค้าที่ต้องระวังการโฆษณาหลอกลวง โฆษณาเว่อร์ หรือแจก แถม ชิงโชค ที่เป็นกลุ่มอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง ลดอ้วน ความงาม ความขาว กลุ่มนี้ อาจเสียเงิน เสียดาย เสียสุขภาพและอาจซ้ำเติมโรคประจำตัวเรา

         สารพัดสินค้า ทุกช่องทางสื่อเข้ามาถึงในมือคุณ ดังนั้น มาวางแผนกับตนเองและครอบครัว ด้วยหลักการคุ้มครองผู้บริโภคและการรู้เท่าทันกันนะคะ

สุภฎารัตน์ สุธีพรวิโรจน์

punnamjai@gmail.com,www.smileconsumer.com

 

หมายเหตุ ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันอังคารที่  ….26 พย 56..คอลัมน์คุ้มครองผู้บริโภค หน้า  7