ว่านหางจระเข้ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

0
7173

“ว่านไฟไหม้”  เป็นคำเรียกของคนเมืองเหนือ บ่งบอกถึงสรรพคุณส่วนคำว่า ว่านตะเข้ ที่คนภาคกลางเรียก ก็น่าจะลักษณะของใบที่เหมือนจระเข้ นี่คิดเดาเล่นๆนะคะ ไม่ได้ศึกษาที่มาจริงจัง

สรรพคุณโดดเด่นของว่านหางจระเข้ คือการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และก็อาจเหมาะสำหรับแผลขนาดเล็ก ไม่ลึกมาก

ต้นหางจระเข้ ปลูกง่าย ควรหามาปลูกไว้ในบ้าน เผื่อมีอุบัติเหตุ เล็กๆน้อยๆ จากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก จะช่วยได้มาก

ส่วนตัวดิฉัน ไม่ค่อยถนัดและออกแนวไม่ระวัง จึงมักจะมีเหตุ นิ้วไปโดนหม้อร้อน น้ำมันกระเด็นใส่

พอมีว่านหางจระเข้  นอกจากช่วยได้มากแล้ว เหมือนว่า อุบัติเหตุจะลดลงด้วย มนต์ว่านหางจระเข้ช่วยให้ระวัีงมากขึ้น……หรือเปล่า

พอดีมีงานหนึ่ง เกี่ยวกับแนวทางป้องกันอบัติเหตุ ก็เลย ถ่ายภาพ การปอกเปลือก การล้าง ว่านหางจระเข้

เผื่อจะเป็นประโยชน์ จึงเอามาขยาย มาเล่าต่อค่ะ (ขอบคุณน้องนางแบบผู้ัไม่ประสงค์ออกนามด้วยค่ะ)

ตัดใบจะเห็นเนื้อของใบ หรือที่เราเรียกว่า วุ้นว่านหางจระเข้

ยางของว่านหางจระเข้ จะมีสีเหลืองๆ เวลาเราจะใช้วุ้น เราต้องล้างออกให้หมด

ยางสีเหลืองนี้ จะอยู่ระหว่างผิวเปลือกใบ กับตัวเนื้อวุ้น ดังนั้น เมื่อเราปอกเปลือก และล้างออก ก็จะไ้ด้เนื้อวุ้น ที่ไม่มียางเหลืองติด

ยางเหลืองนี้ ต้องล้างออก จึงจะได้เนื้อวุ้นที่ไม่มียางเหลืองติด

น้ำยางเหลือง ใช้ในการทำ “ยาดำ” ก็นำ้เอาน้ำยางเหลือง รวบรวมให้ได้มากๆ แล้วก็นำมาเคี่ยวให้แห้ง แบบโบราณ เอามาทำ ยาดำ ส่วนการเลือกน้ำยางเหลืองที่มีคุณภาพเหมาะที่จะทำยาดำ ก็จะเลือกใบแก่อายุเกือบปี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มีประสบการณ์ตรงเล่าเพิ่มเติมค่ะ

มีอยู่วัีนหนึ่ง สะเพร่ามาก เิดินไปชนหม้อร้อนๆ

รีบเอาว่านหางจระเข้มาประคบ เวลาที่เกิดมืดค่ำแล้ว ไม่ได้ไปหาหมอ

เอาผ้าก๊อซห่อประคบไว้ทั้งคืน

ตื่นมา แผลไม่พอง แต่ก็ปวดร้อนอยู่มาก เป็นเนื้อแดงด้วย แต่แผลไม่แตก

ไปหาหมอ หมอบอกว่า ระดับนี้เป็นระดับไฟไหม้ ระดับสาม หมอแนะนำว่า ควรหายาจีนที่ใช้รักษาแผลไฟไหม้(ที่ รพ.ไม่มี) เพราะหมอเพิ่งกลับจากเมืองจีน ได้ศึกษาด้านแผลไฟไหม้  เราก็ถามว่า ถ้าหาซื้อไม่ได้จะใช้อะไรแทน หมอบอกว่า ลองถามร้านดู แต่คิดว่ายานั้นจะมีส่วนผสมของน้ำมันงา เพราะจะมีกลิ่นน้ำมัีนงาด้วย

เราก็ไปร้านยา ไม่มี..ไม่มี..และไม่มี

เราก็เอ๊ะ..ติดใจคำบอกจากหมอว่า น่าจะมีส่วนผสมของน้ำมันงาด้วย เราก็มาค้นข้อมูล ไม่มีระบุชัด แต่เราอ่านแบบเหมาๆ ก็เลยตีความว่าน่าจะใช้ได้

กลับถึงบ้าน ประคบด้วยว่านหางจระเข้เพิ่มอีก 2-3 ชั่วโมง จากนั้น ใช้น้ำมันงา ทา ทาและทา บ่อยๆเท่าที่จะนึกได้

ผ่านไป 2-3 วันอาการแสบร้อนหายไปแล้ว แผลดีขึ้นมาก ไม่บวม ไม่แตก แต่ก็เจ็บนิดๆ

ลงมือทาน้ำมันทุกวัน ผ่านไปเกือบ 2 สัปดาห์ เอ๊ะ..รอยที่ไหม้ๆ ตรงผิว ค่อยๆลอกออกเอง เป็นแผ่นบางๆ

ในที่สุดหาย ไม่มีแผลเป็นเลย

เอาไปเล่าให้คนอื่นๆฟัง มีคนทำตาม บอกว่าเป๊ะ..

จากนั้นเวลาเราเจอไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หลังใช้ว่านหางจระเข้ เราก็ทาด้วยน้ำมันงา (สำหรับแผลเล็กๆและไม่ลึกมาก) 

บางทีเรามีแผลเล็กๆ แผลอื่นๆ ทายาอื่นๆ หายแล้ว มีร่องรอยของแผล เราก็ทาด้วยน้ำมันงา ก็ไม่เห็นมีแผลเป็น

เมื่อดูจากองค์ประกอบของน้ำมันงา จะพบว่ามีวิตามินอีสูง มีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ทั้งเป็นอาหาร เป็นยาและ การใช้ภายนอก การทำยาประเภทนวด ซึ่งภูมิปัญญาหมอพื้นเมืองใช้กันมาแต่โบราณ ในปัจจุบันมีการนำเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง

ส่วนหางจระเข้ ก็มีการนำไปใช้ประโยชน์มากมาย

ลองหามาปลูกไว้ที่บ้าน อย่างน้อย เมื่อมีอุบัติเหตุจากน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ก็จะสามารถนำมาปฐมพยาบาลได้ แต่ต้องทำให้ถูกวิธีนะคะ ตั้งแต่การเลือกใบ การล้าง การปอก และการพอก หรือประคบ ว่าควรเป็นอย่างไร บางทีแผลเล็ก เพียงทาบ่อยๆก็พอแล้ว ไม่ต้องประคบทิ้งไว้

อย่างไรก็ตาม แผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก เมื่อทาหรือประคบด้วยว่านหางจระเข้ ไม่พอง ไม่บวม ไม่ร้อนแล้ว ไม่ควรให้แผลโดนน้ำ หากจำเป็นต้อง ล้างถ้วยชาม หรืออื่นใด ต้องหลีกเลี่ยง ใส่ถุงมือ  หรือถ้าโดนน้ำ อย่าให้มีการแช่ รีบเช็ดให้แห้ง เพราะไม่งั้นแผลจะพอง คิดว่าวิธีนี้ก็เช่นเดียวกับแผลประเภทอื่นๆที่เมื่อทำแผลแล้ว ไม่ควรให้โดนน้ำ จะทำให้หายช้า หรือแผลกำเริบ

 

©สุภฎารัตน์