หอมกลิ่นปูเลย

0
6051

ต่างถิ่นต่างที่ ต่างภาษา จึงอาจเรียกต่างกัน แต่โด่งดังมากในนามของสมุนไพรแ้ก้ปวดเมื่อย

“ปูเลย”คือคำเมืองที่นิยมเรียก แต่ในภาษาอื่นๆของพี่น้องบ้านเราก็อาจเรียกต่างกันออกไปอีก  ในภาษาไทยกลาง เราเรียก “ไพล” 

จำได้ว่า ตอนเป็นเด็ก สมัยนั้น ปูเลยเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่รู้จัก คุ้นเคย และช่วยไปขุดไปหาเสมอ

เมื่อถึงยุคของยาจู้่หรือยาประคบได้ฟื้นฟู ต่อเป็นงานวิจัย ชื่อเสียงของปูเลย ยิ่งโ่ด่งดัง

สัดส่วนของไพล นำเป็นอันดับแรกของลูกประคบ

 

หน้าฝนนี้ กำลังชูใบ ต้นสูงทีเดียว ถ้าเดินไปใกล้จะได้กลิ่นหอมมาก

(สำหรับคนชอบกลิ่นปูเลย)

กำลังถ่ายรูปอยู่ดีดี เพื่อนบ้านก็บอกว่า ลองเอาใบอ่อนมาใส่ยำหน่อไม้แทนใบขิงดูนะ “ลำขนาด” หอมกว่าใบขิง

เขาแนะนำอย่างนี้ เราก็เอ๊ะ เคยเห็นที่ตลาด เขาขายช่อดอก  บอกว่าเอากินกับยำหน่อ จะหอมอร่อย

ดอกปูเลย คนขายบอกว่า ดอกอ่อนแบบนี้ แกะช่อดอกที่ซ่อนในกาบออกมา กินกับยำหน่อไม้จะอร่อย

หน้านี้หน้าฝน ธรรมชาิติจัดสรรอีกล่ะ มาคู่กันเลย

และก็อร่อย หอมดีจริงๆเสียด้วย ลองแล้ว ติดใจเลยล่ะ

อย่างนี้ ดิฉันก็ลองเด็ดใบมาใส่ยำหน่อไม้บ้าง ก็อร่อย หอมดี ใช้ได้ๆ แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่า เคยได้ความรู้จากพ่อหมอปิ่นแก้ว ตันนวล พ่อหมอบอกว่า การกินยำหน่อกับ ใบขิงคนเมืองเรียกว่า เป็น “จู้”กั๋น (เป็นชู้กัน คือเป็นของกิ่นคู่กัน) เพราะใบขิงจะแก้ ” ปิิ๊ด”(พิษหรือฤทธิ์)ของหน่อไม้ ดังนั้นการกินหน่อจะมีของคู่ เช่นแกงหน่อใส่ใบย่านาง หรือผักจอยนาง

ถ้าเป็นเช่นนี้ การกินใบปูเลย ก็อาจจะได้ความหอม อร่อยอาจไม่แก้พิษของหน่อไม้ตามความเชื่ออาหารล้านนา ดิฉันก็เลยผสมใส่ัทั้งสองอย่าง อร่อยอีกแหละ…

นี่คือดอกบาน ที่ชาวบ้านบอกว่า อย่างนี้กลิ่นไม่ค่อยหอม ต้องกินที่ยังไม่บานออกมา

แกะกาบดอกออก ก็จะไ้ด้ “จี๋ดอก”(ดอกตูม) ออกมา กินได้ ดูๆแล้วก็ยากนะ แกะออกได้นิดเดียว

แต่คุ้มมากค่ะ

แรกคือกว่าจะไ้ด้กิน ก็ช่วงหน้าฝน ปีละครั้ง

สองคือ จี๋ดอก แม้จะแกะออกมาได้นิดเดียว แต่หอมมาก

สามคือ นี่เป็นศาสตร์ เป็นศิลป์ เป็นการกินแบบช้าๆ คนเมืองเฮาไปมากินอยู่เดิมๆ จะสบายๆช้าๆ

 

ทรงสวยนะคะ

ปลูกไว้แบบประดับบ้าน ประดับสวนก็ยังดูดีเลยค่ะ

รออีกพัก ถึงหน้าหนาว เราจะมาขุดเหง้าปูเลยกันนะคะ มีงานวิจัยว่า เหง้าปูเลย อายุ 2 ปี จะมีน้ำมันหอมมาก ขุดมาใช้เป็นสมุนไพรจะได้คุณภาพดี เต็มสรรพคุณ

เหง้าปูเลย ทำอะไรได้บ้าง มีงานวิจัย มีภูมิปํญญาของหมอเมืองที่มีมากมายหลายตำรับ

แต่ถ้าเราได้ปลูกไว้ เราจะรู้จักปูเลยมากขึ้น เราจะไ้ด้เข้าใจ และใช้ได้ถูกวิธี

อาจเริ่มต้น จากเอาใบอ่อน เอาช่อดอก มากินกับยำหน่อไม้ใส่น้ำปู๋คู่กับใบขิง ลำแต๊ๆ แถมยังมีกลิ่นหอมตวยเจ้า

©สุภฎารัตน์