ตรีผลา เป็นยา หรือเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร

0
2538

ตรีผลา ชื่อนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีการศึกษาวิจัย ตามตำรับยาแผนโบราณ และกระทรวงสาธารณสุข บรรจุเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ

ที่สำคัญ และอาจเข้าข่ายโฆษณาเกินจริงคือ  มีการทำออกมาจำหน่าย พร้อมการโฆษณา ที่ดูเหมือนจะเป็นยาสารพัดประโยชน์อีกตัวหนึ่งในวงการผลิตภัณฑ์สุขภาพ

เท็จจริงอย่างไรนั้น มีปรากฎในตำรายาแผนโบราณ ตามตำรับแพทย์แผนไทย ซึ่งมีรายละเอียดของการใช้ ปัจจัยต่างๆที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกหลายด้าน

ซึ่งการใช้ตรีผลาเป็นยา ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แผนไทยก่อน แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ตรีผลา อาจจัดเป็นกลุ่มสุขภาพทางเลือก ที่ใครๆก็สามารถใช้ได้ตามต้องการ เพีียงแต่ต้องศึกษาให้ดีก่อน และต้องแยกว่า เราใช้เป็นยา หรือเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร

กรณีใช้เป็นยา นอกจากจะได้รับการตรวจหรือคำแนะนำจากแพทย์แผนไทย การกินเป็นยา ก็ต้องทำตามข้อบ่งใช้

กรณีเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ แม้จะไม่เคร่งครัดมากนักแต่ก็ไม่ควรดื่มติดต่อกันนาน หรือดื่มเป็นประจำ เราควรดื่มสลับกับเครื่องดื่มอื่นๆ  หรือนำเปล่า น้ำสะอาด อันเป็นพื้นฐานสำคัญของเครื่องดื่มประจำตัวเรา

การเตรียมน้ำตรีผลา

ข้อ 1 ควรทำความเข้าใจ เสริมความรู้เรื่องน้ำตรีผลา ตามตำรับแพทย์แผนไทย และที่สำคัญควรศึกษางานวิจัยต่างๆ รวมทั้งข้อกำหนดมาตรฐานการผลิต เพื่อให้เราสามารถเข้าใจ และเลือกว่า เราจะทำสูตรใด

-กรณี สูตรตำรับ ควรได้รับ การตรวจจากแพทย์แผนไทย หรือหากต้องการปรับธาตุตามฤดูกาล ก็ศึกษา ให้เข้าใจ ส่วนประกอบตรีผลา ว่ามีสรรพคุณ อย่างไร ถ้าเป็นผลสด และถ้าเป็นผลแห้ง มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร

-กรณี เป็นเครื่องดื่มสุขภาพ ที่ปกติจะใช้สูตรเท่ากัน ก็ควรทำตามข้อแนะนำของ กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

ข้อ 2 เมื่อเข้าใจและเลือกสูตร หรือวิธีทำแล้ว

-กรณีเป็นของแห้ง ควรเลือกผลที่สมบูรณ์ (แต่สำหรับมะขามป้อม เมื่อแห้ง ผลจะแตก เป็นธรรมชาติของมะขามป้อม)

-กรณีเป็นของสด ควรศึกษาสรรพคุณที่แตกต่างกันระหว่างผลแห้งและสด

-หากเราซื้อเป็นผง ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตผลิต แต่ถ้าเป็นผงแห้งที่เราไม่ทราบว่า ก่อนการบดมีการแยกเมล็ดหรือไม่ ก็ไม่ควรซื้อ เพราะส่วนเมล็ด ไม่ได้กำหนดในตำรับ (ตำรับแพทย์แผนไทย จะเขียนว่า เนื้อผลสมอไทย,เนื้อผลสมอพิเภก,เนื้อผลมะขามป้อม)

ข้อ 3 เมื่อคัดเลือกแล้ว ชั่งน้ำหนัก และนำมาล้างก่อนที่จะต้ม หากเราซื้อแบบแห้งมา แต่ถ้าควบคุมคุณภาพตั้งแต่แรกด้วยตนเอง ก็จะล้างตั้งแต่ก่อนทำให้แห้ง

ข้อ 4 ต้ม การต้มขึ้นอยู่กับสูตรถ้าเป็นตำรับมหาพิกัด มักจะใช้น้ำ 3 ส่วน เคี่ยวเหลือ 1 ส่วน แต่โดยทั่วไป ถ้าเราทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ใช้สูตรเท่ากัน ก็ทำตามคำแนะนำของกรมการแพทย์แผนไทย

-ต้มแล้วกรอง

-หรือใส่ถุงผ้า แล้วต้ม ก็ตามสะดวก เพียงแต่หากใส่ถุงผ้า ต้องระวังไม่ให้แน่นเกินไป

ข้อ5  การรับประทาน ก็อาจเติมรสด้วยเกลือ,น้ำอ้อย,น้ำผึ้ง,ชะเอม,น้ำตาลทรายแดง แต่ไม่แนะนำให้เติมมาก เพราะ ตรีผลาจะมีรสของตนเอง ฝาด เปรี้ยว ขึ้นอยู่กับสูตร

เรียนรู้ ฝึกทำ ด้วยตนเอง ลองดูนะคะ 

©สุภฎารัตน์