ผลกระทบต่อดวงตาเมื่อใช้ชีวิตติดจอ

0
1894

ยุคชีวิตติดจอ  กลายเป็นยุคที่ผู้คนร่วมสมัย ใช้ความคิด ความอ่านความสนใจ อยู่กับหน้าจอ ดวงตาและข้อมูลของเราจึงต้องทำงานหนัก โดยที่เราไม่รู้ตัว ดวงตาของเรา ข้อมือของเรา หรือผลกระทบอื่นๆต่อร่างกาย ย่อมหมายถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพที่จะตามมา

วัยเด็กเล็ก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ และอาจรวมถึงวัยสูงอายุที่หันมาใช้เครื่องมือสื่อสาร ที่ให้ทั้งการสื่อสาร ความบันเทิง อันเป็นโลกที่ต่างคนต่างแสวงหาเฉพาะจุดของตนเอง ดังนั้น พฤติกรรมการใช้ดวงตา และข้อมือ ซึ่งจะต่อเนื่องถึงหลังไหล่ ก็เกิดอาการที่เรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม ทั้งนี้เพราะแต่เดิม การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นการใช้เพื่อการทำงาน แต่ปัจจุบัน หน้าจอสื่อสารทำให้อยู่กับเราทั้งวันทั้งคืน ทุกกลุ่มอาชีพ อาจเรียกได้ว่า เป็น ชีวิตติดจอซินโดรมก็ว่าได้

เราลองมาสำรวจตนเองว่า แต่ละวัน เราใช้เวลาอยู่หน้าประมาณกี่ชั่วโมง  แต่ละครั้งใช้เวลามากหรือไม่ แต่ละครั้ง เราได้ละสายตา หรือวางข้อมือไปทำอย่างอื่นบ้างหรือไม่ เมื่อสำรวจตนเองแล้ว  ลองสังเกตอาการของตนเองดูว่า ระหว่างที่ดูจอนั้น เรามีอาการอย่างไร ในระยะที่เราใช้การดูหน้าจอมากๆ เรามีอาการหลังจากนั้นอย่างไร

ทั้งนี้มีผู้ศึกษาผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ แทปเลต สมาร์ทโฟน พบว่า ส่งกระทบมากกมายต่อสุขภาพ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ รวมถึงความเสี่ยงอื่นๆ ที่ตามมา จากการได้รับอิทธิผลของสื่อผ่านจอเหล่านี้

ด้านดวงตา มีศึกษาพบว่า เด็กเล็กจะได้รับกระทบต่อการพัฒนาการของสมรรถภาพดวงตา  ไม่ว่าจากแสง จากสี จากการกระตุ้นประสาท  ความเครียดของดวงตา  ขณะเดียวกัน เด็กก็ไม่สามารถกำหนดช่วงเวลาให้เหมาะสม ไม่สามารถกำหนดวินัยหรือ การตระหนักต่อความเสี่ยงสุขภาพได้

ดวงตาของเราทุกคน จึงควรถนอมให้ดี ในชีวิตติดจอเช่นนี้ ควรกำหนดเวลาในดูจอ , การปรับอิริยาบถให้เหมาะสม ,การสังเกตอาการของตนเองและคนในครอบครัว หันมาเปลี่ยนการดูอย่างอื่นๆรอบตัวบ้าง ที่ไม่ใช้หน้าจออย่างเดียว หากพบความเสี่ยง หรือความผิดปกติ  ควรปรึกษาแพทย์

ในทางการแพทย์เรียก กลุ่มอาการ ปวดเมื่อยตา ตาเมื่อยล้า ตาแห้ง เคืองตา แสบตา ตาสู้แสงไม่ได้ ตาปรับให้เห็นภาพชัดได้ยาก ตาเบลอ ตาพร่ามัว มองไม่ชัด ว่าอาการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโรคหรือกลุ่มอาการทางระบบมองเห็นที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์(computer vision syndrome) สาเหตุเนื่องจากในการใช้คอมพิวเตอร์

การแก้ไขควรกำหนดวินัยในการใช้จอของตนเองไว้บ้าง ว่า ถ้าต้องใช้ต่อเนื่อง เราควรลุกจากที่นั่ง บริหารร่างกายเพื่อปรับความสมดุลของร่างกาย ส่วนการใช้ สมาร์ทโฟน ที่เรามักพบพฤติกรรมเดินไปดูไป ทำงานไปดูไป  ความคิดสมาธิต้องแบ่งแยกตลอดเวลา ทำให้ภาวะเครียดของร่างกายเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับดวงตา ที่ต้องปรับสภาพแสงตลอดเวลา

การรับประทานอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพดวงตา กลุ่มผักที่มีวิตามิน ช่วยบำรุงสายตา ผักหรือผลไม้ที่มีวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน เช่น ผักบุ้ง ผักตำลึง ผักคะน้า มะละกอ ฟักทอง แครอท และมากมายหลายชนิดที่มีอยู่รอบตัวเรา เป็นพืชผักบ้านเรา

ส่วนการรับประทานอาหารเสริม หรือวิตามิน บำรุงสายตา ที่มีการโฆษณาต่างๆนาๆนั้น ก่อนที่จะรับประทานควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร แม้ว่าไม่ใช่ยา แม้ว่าจะขึ้นอยู่กับทางเลือกของแต่ละคน แต่การให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากเกินไป อาจไม่ใช่ทางแก้ปัญหา การป้องกันดวงตาของเรา ที่สำคัญต้องรู้จักใช้ให้เหมาะสม และหากใช้ดวงตามากเกินไป ควรพบจักษุแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการปรับพฤติกรรมจะเป็นหนทางที่ถูกต้อง

แม้หน้าจอ จะมีประโยชน์ และเป็นชีวิตของคนยุคนี้ แต่ที่สำคัญคือ เราต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยี่ รู้เท่าทันสื่อ เพื่อการกำหนดขอบเขตการใช้ การตระหนักถึงภัยที่เกิดขึ้น ในการใช้ และการได้รับข้อมูล การโฆษณาต่างๆ วิธีคิด วิธีทำ ที่กำหนดชีวิตเราไปโดยไม่รู้ตัว

  

สุภฎารัตน์ สุธีพรวิโรจน์

[email protected],www.smileconsumer.com

อ้างอิง http://www.aoa.org/patients-and-public/caring-for-your-vision/protecting-your-vision/computer-vision-syndrome