ร้องเรียนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

0
1650

หลายครั้งที่มีปัญหาที่อยากปรึกษา และร้องเรียน เราอาจไม่ทราบว่าควรร้องเรียนที่ใด จึงนำเบอร์โทร ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ,สุขภาพ และเบอร์อื่นๆที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน กรณีมีเหตุต่างๆ ดังนี้

1166 สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค

0-2952-5060 ถึง 62 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

1556 สายด่วนผู้บริโภคกับ อย

1200 ร้องเรียนปัญหาโทรคมนาคม กสทช.

1665 สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย

1666 สายด่วนศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

1667 สายด่วนสุขภาพจิต ฮอทไลน์ คลายเครียด (กรมสุขภาพจิต)

1668 สายด่วนมะเร็ง (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์)

1669 หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ศูนย์นเรนทร

1675 สายด่วน กินดี สุขภาพดี , อนามัยใกล้ตัว

1677 ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ร่วมด้วยช่วยกัน

1688 ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด

1694 ,1695 กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมการจัดหางาน

1699 ตำรวจท่องเที่ยว

1717 สายด่วนเมาไม่ขับ

1765 สายด่วนกระทรวงวัฒนธรรม

1567 ศูนย์ดำรงธรรมร้องทุกข์ร้องเรียน

1129 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ฯลฯ

ส่วนการร้องเรียนในพื้นที่จังหวัด มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน  ดังนี้

1 สำนักงานจังหวัด โดยคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ทุกจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน)

2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทุกจังหวัด

3 ศูนย์ดำรงธรรม ทุกจังหวัด

4 องค์กรส่วนท้องถิ่น

5 องค์กรผู้บริโภคในพื้นที่

ช่องทางหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น

1. เว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา

2. เว็บไซต์ขององค์กร/ชุมชน/สถาบัน ฯลฯ ที่สามารถตรวจสอบได้

การร้องเรียนช่องทางอื่นๆ เช่น การส่งอีเมล ,การร้องเรียนโดยตรงกับเจ้าของสินค้า,การร้องเรียนผ่านสื่อ,การร้องเรียนผ่านตำรวจ ณ สถานีตำรวจ,การร้องเรียนด้วยตนเอง ณ ที่ทำการของหน่วยงานที่กำกับดูแลโดยตรง

 

ผู้บริโภค ควรหาเบอร์โทรศัพท์ หน่วยงานในระดับจังหวัดของท่าน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการติดต่อ หรือแจ้งร้องเรียน ในขณะเดียวกัน ก็ขอเสนอให้หน่วยงานต่างๆ ประชาสัมพันธ์ รูปแบบการร้องเรียน และเบอร์โทรศัพท์หรือช่องทางการติดต่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการประชาสัมพันธ์ไห้มีการร้องเรียน ตามช่องทางต่างๆ รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ คอลเซ็นเตอร์ แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า ยังขาดประสิทธิภาพในแจ้งร้องเรียนหรือรับร้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นคอลเซ็นเตอร์ที่ส่งต่อเบอร์ยาวเหยียด ต้องกดต่อเรื่อยๆ  และเมื่อถึงคำตอบสุดท้ายของการกดเบอร์ ก็ยังมีปัญหาไม่ชัดเจนว่าระบบนั้นรับเรื่องร้องเรียนทันที เป็นทางการหรือไม่  บางเรื่อง ต้องการปรึกษาผสมกับการร้องเรียน  ผู้รับเรื่องจุดสุดท้าย กลับไม่สามารถให้คำแนะนำที่พึงพอใจ หรือ มีท่าทีไม่เหมาะสม เช่น การตัดบทโดยใช้กฎหมายหรือระเบียบเฉพาะหน่วยงานเกินไป  และที่สำคัญคือกระบวนดำเนินคดี หรือการติดตามผลการร้องเรียน ไม่มีความชัดเจน ยืดเยื้อ ตรวจสอบติดตามคดีไม่ได้ ฯลฯ

ดังนั้นจะเห็นว่าการร้องเรียน ไม่อาจจะตอบโจทย์ข้อเรียกร้องได้ทุกเรื่อง ทุกราย ดังนั้น เราควรป้องกันด้วยการใช้ความรอบคอบในการซื้อสินค้า หรือใช้บริการต่างๆ แต่หากมีปัญหาควรร้องเรียน และหากร้องเรียนไม่ได้ผล ควรใช้หลายช่องทาง ปรึกษาหลายส่วนงานและ บางเรื่อง อาจต้องใช้พลังทางสังคมหรือพลังผู้บริโภค

การร้องเรียนเป็นไปตามสิทธิและกฎหมาย นอกจากแก้ไขปัญหาของผู้ร้องเรียนแล้ว ยังเป็นการช่วยให้มีการปรับปรุง แก้ไข เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภครายอื่น ซึ่งบางเรื่อง อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายหรือกำหนดเป็นนโยบาย  

สุภฎารัตน์ สุธีพรวิโรจน์

[email protected],www.smileconsumer.com

 

อ้างอิง http://www.9pyinfo.com