จำต้องเรียนรู้”ศัพท์วิชาการ”ให้ทันสื่อ (1)

0
670

           ในสังคมที่มีการช่วงชิงพื้นที่สื่อเพื่อการตลาด “ศัพท์วิชาการ” มักเป็นเรื่องแรกๆที่มีการนำเอาคำที่คล้ายเป็นคำใหม่ นำเสนอเป็นความหมายใหม่ แต่ที่จริงอาจเป็นคำดั้งเดิม หรือคำที่มาจากประเด็นย่อยๆจากเรื่องหลัก ซึ่งมักจะได้รับความสนใจมากโดยเฉพาะถ้าเป็นคำที่เกี่ยวกับสุขภาพ เนื่องจากความคาดหวังของคนเราคือเพื่อการรักษาสุขภาพและการบำบัดโรค

                                       ศัพท์วิชาการ คำๆนี้ถูกเส้นแบ่งแยกอย่างชัดเจน ระหว่างนักวิชาการและชาวบ้านประชาชนทั่วไป มีศัพท์วิชาการในสาขาต่างๆเยอะแยะไม่หมด ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธความจริงได้ว่า ศัพท์วิชาการเหล่านั้น ชาวบ้านอย่างเราไม่เข้าใจ   ดังนั้นเวลาสื่อสารออกมา จึงพยายามไม่พูดศัพท์วิชาการ หรือพูดให้น้อย หลักเลี่ยงหรือพูดเท่าที่จำเป็น ส่วนประชาชนหรือผู้คนที่นอกเหนือจากความเชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆ ก็มักขีดเส้นแบ่งว่านั่นคำศัพท์วิชาการ จึงเลือกที่จะเปิดรับสื่อเฉพาะเรื่องที่ไม่ใช้ศัพท์วิชาการเท่านั้น แต่เมื่อวันหนึ่งเราได้ยินคำโฆษณาถี่ๆได้ยินได้ฟังทุกวัน เราก็รับเอาศัพท์เหล่านั้นมา เช่น ศัพท์วิชาการที่เกี่ยวกับอาหาร และความงาม  ซึ่งกระตุ้นให้เราอยากซื้ออยากหามารับประทาน ทั้งๆที่ สารอาหารเหล่านั้น ด้วยศัพท์ทางวิชาการเหล่านั้น หากเป็นนักวิชาการพูดเรามักไม่สนใจ อีกทั้งนักวิชาการเองเวลาพูดกับชาวบ้านก็มักไม่ใช้

                ถึงเวลาที่ต้องรู้เท่าทัน เพราะศัพท์วิชาการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ในยุคนี้ มีการเปลี่ยนแปลงในการนำมาใช้เป็นอย่างมาก อาจเพราะมาจากการขยายตัวของขอบเขตการศึกษาวิจัยด้านอาหาร  ยา หรือความงาม ที่เกี่ยวกับพืช ที่ทำให้มีคำศัพท์วิชาการเริ่มแพร่กระจายในการสื่อสารมากขึ้น รวมทั้งมีการนำคำเหล่านี้มาเป็นวาทกรรมในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อการค้า           ดังนั้นเราควรเปิดรับและการเรียนรู้ความจริงเกี่ยวกับ ศัพท์วิชาการเหล่านี้

                อย่างไรก็ตามในฐานะผู้บริโภค การเปิดรับสื่อวิชาการจากสื่อโฆษณาสินค้าควรควบคู่ไปกับการใช้สิทธิผู้บริโภคและการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น สิทธิในการได้ข้อมูลครบถ้วน เป็นจริง ไม่หลอกลวง  สิทธิในการเลือกซื้อสินค้าโดยอิสระปราศจากกลลวงหรือการชักจูง สิทธิที่สามารถเรียกร้องความเสียหายเมื่อไม่ได้รับความปลอดภัย สินค้าไม่ได้มาตรฐาน สินค้าไม่เป็นไปตามโฆษณา เป็นต้น ส่วนการใช้กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา ควรดูว่าเป็นโฆษณาที่ได้รับอนุญาตไหม มีการโฆษณาเกินจริงหรือหลอกลวงหรือไม่  การขายตรงมีลักษณะอย่างไร มีรูปแบบการขายแบบใด มีการขายในราคายุติธรรมหรือไม่ และที่สำคัญคือการถามความต้องการหรือความจำเป็นการเลือกซื้อสินค้าของตนเอง  หากยังสงสัยเรื่องใด การหาข้อมูลจากแหล่งเชื่อถือได้ หรือสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือองค์กรผู้บริโภคก็จะสามารถช่วยให้เพิ่มเติมข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้

                          ถ้าเราแบ่งตามกลุ่มสี เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ประเทศไทยของเรานี้มีความหลากหลายของพืชผักผลไม้มากมายจริงๆ ดังนั้นเราควรรู้ว่าแต่ละชนิดนั้นมีสารพฤกษเคมีอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสุขภาพและการบำบัดโรค นั่นหมายความว่าผู้บริโภคอย่างเราๆควรเปิดรับศัพท์ทางวิชาการด้วย เพื่อให้เราได้เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม และเปิดให้เราได้ฝึกวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ

เราลองมาดูคำศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสารอาหารในกลุ่มพืช เริ่มจากคำว่า  สารพฤกษเคมี(ไฟโตนิวเทรียนท์  Phytonutrients หรือPhytochemical) คำว่า  ไฟโต (phyto) มาจากภาษาภาษากรีก ที่หมายถึงพืช  สารพฤกษเคมีหรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients)  หมายถึงสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในพืช ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ และทำให้ สี กลิ่น รสชาติ ของพืชมีลักษณะเฉพาะ

นึกดูว่าในชีวิตประจำวันของเรา ได้รับประทานพืชผักผลไม้หรือธัญญพืชอะไรบ้าง

                ในแต่ละฤดูกาล มีกลุ่มพืชผักอะไร รสอะไร มีผลไม้อะไร  มีเมล็ดถั่วอะไร  แต่ละชนิดมีสีอะไร  เช่นข้าวก่ำ ข้าวกล้อง ข้าวนิล ข้าวโพด เผือก มันเทศ  หอมแดง กระเทียม ผักกาด กะหล่ำ ถั่วแปป มะเขือพวง มะเขือเทศ มะเฟือง มะละกอ กล้วย ชมพู่ มะม่วง ส้ม พุทรา มะขามถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วแระ เป็นต้น ซึ่งพืชผักผลไม้ธัญญพืชเหล่านี้ นอกจากจะให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น วิตามิน แร่ธาตุ กากใย แป้งน้ำตาล แล้ว ยังมีสารพฤกษเคมีที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

     ถ้าเราแบ่งตามกลุ่มสี เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ประเทศไทยของเรานี้มีความหลากหลายของพืชผักผลไม้มากมายจริงๆ ดังนั้นเราควรรู้ว่าแต่ละชนิดนั้นมีสารพฤกษเคมีอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสุขภาพและการบำบัดโรค นั่นหมายความว่าผู้บริโภคอย่างเราๆควรเปิดรับศัพท์ทางวิชาการด้วย เพื่อให้เราได้เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม และเปิดให้เราได้ฝึกวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ

                ในตอนต่อไป เราจะมาดูกันว่า ในชีวิตประจำวันของเรามีพืชผักผลไม้สีใดแบบไหน มีสารพฤกษเคมีอะไรบ้าง

อ้างอิง

http://www.ars.usda.gov/Main/docs.htm?docid=4142

http://th.wikipedia.org/wiki/

 

ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันอังคารที่ ๘ มีนาคม  ๒๕๕๔ หน้า  ๗