บ่ะนะ สมอไทย

0
5110

หน้านี้ สมอไทย กำลังมีผลแก่ให้เราได้นำมากินเป็นสมุนไพร เป็นอาหาร

สรรพคุณนานัประการ และเป็นหนึ่งใน ตรีผลา พ่ออุ้ยแม่อุ้ยในสมัยก่อน เอามากินกับข้าว ด้วยรสฝาด เปรี้ยว การกินกับข้าวเหนียว เหมาะกับรสการกินของคนสูงวัย

แต่ปัจจุบัน ได้รับความนิยมมาก นำมาแปรรูป มาทำเป็นยา เป็นน้ำสมุนไพร เป็นชา เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

คำเมืองเรียกสมอไทย ว่า  “บะนะ” บ่ะ ออกเสียงสั้น ในภาษาคำเมือง แต่พอไปค้นข้อมูลพบว่า มีบางเว๊บบอกว่า สมอไทย ภาคเหนือเรียกว่า “มะแน่” อันนี้คิดว่าผิดค่ะ เพราะ คำว่า “มะแน่ หรือคำว่า บ่ะแน่” นั้น คำเมืองหมายถึง “น้อยหน่า”

ขอเพิ่มอีกนิด ว่า ในภาษาไทย กล่าวถึงคำเมืองล้านนา  ที่มีคำว่า  “มะ” นำหน้า นั้น ดิฉันเข้าใจว่า น่าจะเป็นการออกเสียงและการเขียนให้ตรงตามภาษาไทย แต่ที่จริงแล้ว หากเป็นผลไม้ ไม้ผลต่างๆ คำเมือง จะออกเสียงว่า “บะ /บ่ะ”(คือคล้ายๆ บ่า แต่เสียงสั้นกว่า) ไม่มีคำว่า “มะ” เช่น “บะม่วง หมายถึง มะม่วง” “บะขาม หมายถึง มะขาม” “บะก้อนก้อม หมายถึง มะรุม) 

ดังนั้นในเว๊บนี้ ดิฉันจึงมักจะเขียน เป็นคำว่า บะ /บ่ะ นำหน้าตามภาษาของตัวเองเป็นหลักก่อนค่ะ แต่ก็สัญญาว่า จะหาพจนานุกรมล้านนามาไว้ข้างตัวสักเล่ม

ผลแก่จะรสดีกว่า ผลอ่อนที่มีรสฝาดมากกว่า บางคนชอบผลอ่อน แต่หากเอาทำยา หรือแปรรูป ควรเอาผลแก่ อย่างไรก็ตาม การเก็บจากป่า บางทีมีผลแก่ผลอ่อนคละกันบ้าง ยกเว้นปลายๆฤดูหนาว จะเป็นผลแก่

เทียบขนาด ผ่าดูภายในจะมีเมล็ดทรงรี ขนาดค่อนข้างใหญ่ ถ้าผลแก่ เอาเมล็ดไปเพาะได้

ตามลักษณะทางพฤษศาสตร์บอกว่าผลรูปไข่ หรือ ทรงรี หรือเกือบกลมกว้าง 1 – 2.5 ซม. ยาว 2 – 4 ซม. และมักเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม หรือ เป็น 5 สัน

เมื่อมาอบหรือตากแห้ง ผิวจะย่น สีดำน้ำตาล

ปกติ ถ้าไปซื้อที่ร้านสมุนไพร จะได้ผลแห้งแบบนี้ เวลาเอามาปรุงยา ก็ต้องทุบเอาเมล็ดออก แล้วนำมาบด แต่บางแห่งก็มีการแกะเมล็ดออกก่อนอบแห้ง แต่ส่วนใหญ่จะไม่แกะเนื้อออก

ดังนั้นเวลาเราไปซื้อจะได้ผลแห้งมีเมล็ดข้างใน  ซึ่งแม้ว่าจะต้องมาทุบแยกเมล็ดออกก่อนที่เราจะนำมาบด หรือนำมาใช้ แต่ก็มีส่วนดีตรงที่ว่า โอกาสที่จะมีเชื้อรา อาจจะน้อยกว่าที่แกะเนื้อแล้ว  ถ้าแห้งแบบนี้เก็บได้นานกว่า

ถ้าเราไม่เอามาบดเป็นผง เราก็เพียงทุบๆ ก็เอามาต้มเป็นน้ำตรีผลาหรือน้ำสมอไทย ที่อาจจะผสมกับสมุนไพรตัวอื่น ในลักษณะของการทำน้ำสมุนไพรเื่พื่อสุขภาพทั่วไป

แต่หากทำน้ำสมุนไพรที่ใช้สมอไทย ตามตำราสมุนไพรหรือเพื่อป้องกัน รักษาโรค ก็ควรทำตามสูตรตำราแพทย์แผนไทย /แพทย์พื้นบ้าน หรือตามรูปแบบที่มีการศึกษาวิจัยเพิ่ม

สมอไทยเป็นของดีจริง แต่ก็ต้องระวังมีการโฆษณาเกินจริงด้วย

แต่ปลายฝนต้นหนาวอย่างนี้ มีผลสดให้เรากิน ไปตลาดลองหาดู เสียดายเพีียงว่า มีคนเก็บมาขายเยอะมาก แต่ป่ากำลังหาย ต้องช่วยกันปลูกทดแทน

การนำสมอไทย มาเป็นยาตามตำรับต่างๆ มีหลายรูปแบบ โดยเฉพาะ การนำมาเป็นสมุนไพร ตำรับตรีผลา

ซึ่งมีการจำหน่าย ในรูปแบบสูตรสำเร็จ และมีการกล่าวสรรพคุณมากมาย ที่ต้องระวังการโฆษณาเกินจริงด้วยค่ะ

สมอไทยเป็นหนึ่งใน มหาพิกัด ที่มีส่วนผสมแตกต่างกัน เมื่อมีการใช้ตรีผลาในแต่ละฤดู

ตามข้อมูลจาก http://www.samunpri.com/modules.php?name=Kana3&file=3#1

ดังนี้

ดังนั้น หากเราจะนำสมอไทย มาใช้ตามตำรับแพทย์แผนไทย เราควรศึกษาก่อนว่า เราจะใช้เพื่อในฤดูใด หรือเพื่อป้องกัน รักษาอาการใด ก็ควรศึกษาข้อมูลก่อน ส่วนตำราพื้นบ้าน ก็มีการใช้แตกต่างกันไป

 

ของดีอย่างนี้ มีที่บ้านเรานี่แหละ

©สุภฎารัตน์